การก่อตั้งกรุงธนบุรี
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกู้เอกราช ขณะนั้นทรงมียศเป็นพระเจ้าตาก รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันบุรี เมื่อเป็นปึกแผ่นจึงเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่า แต่กรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟู เกรงว่าจะรักษาบ้านเมืองไว้ได้ยาก จึงย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงธนบุรี ปกครองบ้านเมืองจนกระทั่งถึง พ.ศ.2325 กรุงธนบุรีเป็นราชธานนาน 15 ปี
การปกครองสมัยกรุงธนบุรี ยึดถือการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองส่วนกลาง
1.สมุหนายก มีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นอัครเสนาบดี ทำหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารและพลเรือนตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2.สมุหพระกลาโหม มีเจ้าพระยามหาเสนาเป็นอัครเสนาบดี ทำหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารและพลเรือนตามหัวเมืองฝ่ายใต้
3.จตุสดมภ์ ประกอบด้วย
-กรมเวียง มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของราษฎร
-กรมวัง มีพระยาธรรมาธิกรณ์เป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และการพิพากษาอรรถคดี
-กรมคลัง มีพระยาพิพัฒน์โกษาเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและการค้ากับต่างประเทศ
-กรมนา มีพระยาพลเทพเป็ฯผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ดูแลการทำนาทำไร่ และกรรมสิทธิ์
การปกครองส่วนภูมิภาค
เมืองหลวงหรือเมืองราชธานี คือ กรุงธนบุรี
หัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา อยู่รายล้อมราชธานี ผู้ทำหน้าที่ปกครอง เรียกว่า ผู้รั้ง ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก
หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองที่อยู่ห่างราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี มีพระบรมวงศานุวงศ์หรือขุนนางบังคับบัญชา
เมืองประเทศราช มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องบรรณาการมาถวายเมืองหลวง ได้แก่ เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ปัตตานี
การสิ้นสุด
ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็อฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2325 เจ้าพระยาจักรีจึงควบคุมสถานการณ์และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศืจักรี
แบบทดสอบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น