You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะกรุงธนบุรีมีขนาดเล็ก ไม่อาจขยายอาณาเขตออกไปได้อีก และฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านกรุงธนบุรี เป็นเขตน้ำเซาะตลิ่งพังได้ง่าย ฝั่งกรุงเทพมหานครมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองออกไปได้ในอนาคต





การเมืองการปกครอง

สมัยรัชกาลที่ 1- 3 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ


1.การปกครองในเขตราชธานีหรือส่วนกลาง ประกอบด้วย เสนาบดีจตุสดมภ์ และอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม


2.การปกครองหัวเมืองหรือส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช

3.การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย แขวง ตำบล หมู่บ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงรวบรวมและชำระกฎหมายให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้เกิดความยุติธรรม โดยใช้ตราราชสีห์( ตำแหน่งสมุหนายก ) ตราคชสีห์ (ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ) ตราบัวแก้ว ( ตำแหน่งโกษาธิบดี ) มีชื่อเรีกว่า ตรากฎหมายสามดวง ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 5

ด้านกฎหมายและการศาลไทย
กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตกัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพรมหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1




สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มปรับปรุงบ้านเมืองตามแบบอย่างตะวันตก เปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าเฝ้า ถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ปรับปรุงกฎหมายและการศาล ให้ข้าราชการและขุนนางส่วมเสื้อขณะเข้าเฝ้า ทรงตรากฎหมายเพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพของบ้านเมือง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมรดกและสินสมรส




สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งสภาที่ปรึกษาราชกาลแผ่นดิน ( Councill of State ) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ( Privy Councill ) โปรดให้ปรับปรุงการปกครองส่วนกลาง ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ จัดตั้งกระทรวง 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง

- การปกครองส่วนภูมิภาค โปรดให้ยกเลิกเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา จัดการปกครองแบบ เทศาภิบาล รวมเมืองหลายๆเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน


- การปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการปกครองแบบสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก มีการปฏิรูปกฎหมายและการศาล การจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย และกระทรวงยุติธรรม




สมัยรัชกาลที่ 6 ตั้งกระทรวงทหารเรือและกระทรวงพาณิชย์ รวมมณฑลต่างๆขึ้นเป็นภาค ทรงวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตั้งดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองในการปกครอง ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชทานเสรีภาพให้แก่หนังสือพิมพ์ และตั้งกรมร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์




สมัยราชกาลที่ 7 ตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อถวายคำแนะนำการบริหาราชการแผ่นดิน ตั้งสภากรรมการองคมนตรีเพื่อถวายความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน จัดการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาล พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานรัฐสภา และพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก



สมัยรัชกาลที่ 8 ไทยสามารถยกเลิกสิทธิเสรีภาพ นอกอาณาเขตได้อย่างเด็ดขาด

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น